Electrode กับ Filler Metal ต่างกันอย่างไร

Electrode กับ Filler Metal ต่างกันอย่างไร?


ลวดเชื่อม กับ ลวดเติม ความหมายก็แตกต่างกันอยู่แล้ว แต่ในความแตกต่างก็มีความเหมือน คือพอหลอมละลายไปแล้วจะกลายเป็นรอยเชื่อมเหมือนกัน 


ลวดเชื่อมแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆคือ 


1. Consumable Electrode คือลวดเชื่อมที่ใช้แล้วหมดเปลืองไป เช่น ลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ ลวดเชื่อมทิก ลวดเชื่อมมิกแม็ก ลวดเชื่อมฟลั๊กซ์คอร์ เป็นต้น


2. Non Consumable Electrode เป็นลวดเชื่อมที่ใช้แล้วไม่สิ้นเปลืองหรือหมดไป เช่น Tungsten Electrode ในการเชื่อมทิก หรือ แท่ง Electrode ในการเชื่อมจุด Resistance Spot Welding


ในกรณีของ Consumable Electrode ต้องมาพิจารณากันอีกว่าลวดเชื่อมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้าการเชื่อมหรือไม่ ถ้ามีกระแสไฟไหลผ่านลวดเชื่อมจะเรียกว่า Electrode  ถ้าไม่มีกระแสไฟไหลผ่านจะเรียกว่า Filler Metal


สำหรับ Form ของลวดก็มีทั้งแบบเส้นตรง (Rod) และแบบม้วน (spool) เช่นในมาตรฐาน AWS A5.18 จะใช้คำย่อ (Designation) ว่า ER หรือ Electrode Rod เป็นลวดเชื่อมสำหรับกระบวนการเชื่อมทิก และมิกแม็ก และถ้าใช้งานหนักสำหรับการเชื่อมในระบบอัตโนมัติ จะบรรจุลวดเชื่อมลงในถัง หรือที่เรียกว่าลวดถัง


ส่วนรูปแบบของลวดเชื่อมเองก็มีการจำแนกประเภทออกไป ได้แก่           

1. ลวดแข็ง Solid Wire                                                          

2. ลวดหุ้มฟลั๊กซ์ Cover Electrode                                                

3. ลวดไส้ฟลั๊กซ์ Flux Core Wire                                               

4. ลวดไส้โลหะ Metal Core Wire                                                  


พวกเบอร์ 3 กับ 4 มีชื่อเรียกรวมว่า Tubular Core


ลวดเชื่อมที่กล่าวมานี้จะใช้กับการเชื่อมแบบหลอมละลาย Fusion Welding

ส่วนพวกลวดเติมจะใช้กับการเชื่อมทิก การเชื่อมแก็ส และการบัดกรีอ่อน Soldering และการบัดกรีแข็ง Brazing


สำหรับขนาด และน้ำหนักของลวดเชื่อมก็มีให้เลือกใช้งานมากมาย แต่ก็มักมีความผิดพลาดจากการเลือกใช้งานขนาดลวดเชื่อมอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่นลวดเชื่อมสำหรับการเชื่อม mag ขนาด 0.8 1.0 1.2 และ 1.6 จะเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับงาน ซึ่งเรื่องนี้คงต้องยกยอดไว้คราวหน้าครับ


ผศ.ดร.ปริยสุทธิ์ วัฒนธรรม

ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ


วิทยาทานในครั้งนี้ข้าพเจ้าขออุทิศผลบุญให้คุณพ่อประสงค์ คุณแม่รัตนาพร วัฒนธรรม และคณาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ข้าพเจ้าจนสามารถต่อยอดองค์ความรู้เกิดประโยชน์เป็นวงกว้างผ่านสื่อโซเชียลเทอญ....

Visitors: 329,753