อุตสาหกรรมอะไรบ้างที่ใช้กระบวนการเชื่อมในการสร้างหรือผลิตงาน

อุตสาหกรรมอะไรบ้างที่ใช้กระบวนการเชื่อมในการสร้างหรือผลิตงาน
ผมอยากให้มองภาพว่าการใช้กระบวนการเชื่อมในการสร้างงานมีทั้งแบบที่ ใช้เป็นหลัก และใช้เป็นส่วนหนึ่ง พวกกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้กระบวนการเชื่อมเป็นหลักในการสร้างงาน มักจะมีมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เป็นตัวกำกับหรือควบคุมมมาตรฐานคุณภาพของรอยเชื่อม
อดีตท่านปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.ประเสริฐ ตปนียกูร ท่านเคยให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงานสัมมนาด้านงานเชื่อม ท่านกล่าวว่า งานเชื่อมเป็นยาดำแทรกอยู่ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม มีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ
ในกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการจัดกลุ่มประเภทอุตสาหกรรมตาม Sector หรือ Clustor ตามการเรียกในแต่ละยุคสมัย แต่ก็ไม่ปรากฏคำว่าอุตสาหกรรมการเชื่อม
เขาจัดให้ไปอยู่กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐาน ซึ่งดูชื่อแล้วไม่น่าจะสำคัญ
แต่ในทางปฏิบัติ หรือข้อเท็จจริง การสร้างประเทศจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม ต้องใช้งานเชื่อมสร้างทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่สร้างรายได้มหาศาล อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มาบตราพุด อุตสาหกรรมการต่อเรือ อุตสาหกรรมพลังงาน เช่นโรงไฟฟ้าทุกประเภท ฯลฯ ดังนั้นจึงต้องมาลำดับไล่เรียงว่าอุตสาหกรรมประเภทไหนมีการใช้กระบวนการเชื่อมเป็นหลักในการสร้างงาน หรือจะเรียกว่าใช้กระบวนการเชื่อมแบบเข้มข้นก็ไม่ว่ากัน
เมืองไทยคือสวรรค์ของงานเชื่อม Thailand is Paradise of Welding เรามีช่างเชื่อมที่เก่งที่สุดในโลก หลายๆบริษัทชั้นนำของโลกย้ายฐานการผลิตด้านงานเชื่อมมาเมืองไทย เพราะเขาทาราบจุดแข็งข้อนี้ แม้ว่าราคาช่างเชื่อมจะสูงไปบ้าง แต่เมื่อเทียบกับคุณภาพและกำลังการผลิตที่ได้ถือว่าคุ้ม
แท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลก็ผลิตที่ไทย เท่าที่ผมรู้ผู้รับจ้างผลิตที่เป็น Main Contractor ก็มี TNS CUEL IBEL DLINE STP&I BJC ส่วนพวก Subcontract อีกไม่รู้เท่าไหร่ ปีนึงน่าจะสร้างรายได้รวมกันไม่ต่ำกว่า 30000 ล้าน!!!
ผมเลยลองมาจัดหมวดหมู่อุตสาหกรรมเล่นๆ ว่างานเชื่อมเป็นยาดำแทรกไปที่ไหนบ้าง?
กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น การก่อสร้างโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ได้แก่ โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ โรงผลิตเม็ดพลาสติก โรงผลิตยางสังเคราะห์ โรงผลิตสารเคมีตั้งต้นจากการกลั่นน้ำมัน การก่อสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การก่อสร้างโรงไฟฟ้า
ขยายไปไม่รู้กี่เฟสแล้ว เป็นโมเดลตั้งต้นของโครงการ EEC ในปัจจุบัน
ก็ได้คุณลุง คุณตา ช่างเชื่อมเมื่อ 30 ปี ก่อนที่ไปขุดทองที่ตะวันออกกลาง กลับมาช่วยกันพัฒนาประเทศ
กลุ่มอุตสาหกรรมโครงสร้าง การก่อสร้างโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ เช่นอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ การก่อสร้างอาคารสูงโครงสร้างเหล็ก การก่อสร้างอาคารโรงงานอุตสาหกรรมด้วยโครงสร้างเหล็ก งานโครงสร้างสะพาน เป็นต้น
นี่ก็งานโครงสร้างล้วนๆ อภิมหาเมกกะโปรเจ็ค ตำนานสนามบินหนองงูเห่า ใช้เวลากว่า 30 ปี ถึงได้สร้าง โปรเจคสนามบินใหญ่ๆแบบนี้หลายแห่งในโลกมาผลิตที่เมืองไทย เช่นสนามบินโดฮา ประเทศการ์ต้า


ใครรับงานมาพอสืบค้นได้ แต่เอาไปจ้างใครต่อบ้างน่าจะเยอะ ใครจำได้ก็เล่าสู่กันฟัง
ผมมีประสบการณ์ของสนามบินสุวรรณภูมิ เรื่องท่าเทียบเครื่องบินหรือมี่เราเรียกกันว่า งวงช้าง
Spec.บอกผลิตที่ออสเตรเลีย แต่เอาเข้าจริงผลิตแถวบางนาตราด ไม่ไกลจากสนามบินเลย 555
พวกงานโครงสร้างนี่ ถ้ามองว่าเป็นงานที่คุณภาพไม่สูง ราคาถูก จะว่าไปก็ไม่ถูกต้องเสียทีเดียวนัก ผู้รับเหมารายย่อยก่อนจะไปงานโหดๆ ก็ต้องผ่านด่านนี้ให้ได้ก่อน
พวกประเทศที่อยู่ในแถบวงแหวนไฟ หรือรอยแยกทางปฐภีวิทยา ที่มีแผ่นดินไหวอยู่เสมอ ก็จะมาจ้างพี่ไทยนี่แหละผลิต บางบริษัทเจ้าของเป็นชาวต่างชาติก็มี ทั้งสะพาน อาคารสูง ก็ผลิตที่ไทยแลนด์นี่แหละ ทำ Pre Assembly แล้วส่งลงเรือแยกชิ้นไปติดตั้ง ณ ที่หมาย กลุ่มนี้ก็สร้างรายได้ให้ประเทศไม่ใช่น้อย
ยังไม่นับกลุ่มที่รับงานโครงสร้างในประเทศ พวกก่อสร้างห้างสรรพสินค้า BIG C LOTUS MACRO งานโครงสร้างอาคารโรงงาน
พวกงานโครงสร้างขนาดใหญ่กว่า 70% เป็นการส่งออก มีสมาคมเหล็กโครงสร้างไทย(ชื่อใหม่) ชื่อเดิมถ้าจำไม่ผิดสมาคมผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างไทย เป็นผู้รวมรวมผู้ประกอบการก่อตั้งเป็นสมาคมน่าจะสิบกว่าปีที่แล้ว สมาชิกหลายบริษัทเป็นบริษัทมหาชน
https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&uact=8&ved=2ahUKEwjT36CUjdjkAhVJqo8KHQK1BWgQFjAAegQIABAB&url=http%3A%2F%2Fwww.tsss.in.th%2F&usg=AOvVaw0Ko1UjPG_eMg0etYVEnqv7
อันนี้ล่าสุด สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ Land Mark แห่งล่าสุด ศูนย์กลางการคมนาคมของกรุงเทพ ก็เชื่อมกันกระจายเฉพาะโครงการอาคารผู้โดยสารในรูปก็น่าจะหลายพันล้านอยู่

บทความน่ารู้ลองเวล

Visitors: 327,759