กระบวนการเชื่อมอาร์กโลหะโดยไม่ใช้แก็สคลุม

วันนี้เลยมาเริ่มใหม่กับกระบวนการเชื่อม หมายเลข 1

กระบวนการเชื่อมอาร์กโลหะโดยไม่ใช้แก็สคลุม

Metal arc welding without gas protection

เป็นกระบวนการเชื่อมพื้นฐานที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง สามารถทำการเชื่อมโลหะได้เกือบทุกประเภท (ยกเว้นโลหะที่ออกซิเดชั่นได้ง่าย เช่น ไทเทเนียม)

ปัจจุบันการใช้งานกระบวนการเชื่อมอาร์กด้วยมือในภาคอุตสาหกรรมได้ลดความนิยมลง โดยเฉพาะในภาคการผลิต 

แต่อย่างไรก็ตามยังมีการใช้งานค่อนข้างสูงในกลุ่มซ่อมบำรุง และงานประเภททำด้วยตนเอง (DIY: Do It Yourself) เนื่องจากเครื่องมือและอุปกรณ์ไม่ซับซ้อน ราคาไม่สูงมาก และไม่ต้องใช้ทักษะในการเชื่อมมากนัก

เพื่อให้การศึกษากระบวนการเชื่อมเป็นระบบและง่ายต่อการศึกษามากขึ้น ผู้เขียนขอใช้การจำแนกกระบวนการเชื่อมตามมาตรฐาน ISO 4063 เป็นแนวทางในการจัดประเภทและอธิบายหลักการทำงานของกระบวนการเชื่อมที่เกี่ยวข้อง

จะเห็นว่ารหัสตัวเลขตัวแรกคือ 1 เป็นกลุ่มหลักของการเชื่อมแบบอาร์ก ตัวเลข 1 ในลำดับถัดมา หมายถึง การเชื่อมอาร์กโลหะโดยไม่ใช้แก็สคลุม (11)

และตัวเลขลำดับสุดท้ายจะแสดงกลุ่มย่อย (Sub-group) ที่แสดงให้เห็นว่ามีการประยุกต์ใช้การเชื่อมอาร์กไฟฟ้าในรูปแบบอื่นๆ เช่น การเชื่อมแบบกราวิตี้ (Gravity arc welding with covered electrode) 112 

พวกอู่ต่อเรือ หรือพวกเชื่อมโครงสร้างนิยมใช้กันเมื่อ 30 - 40 ปีที่แล้ว

ปัจจุบันอู่ต่อเรือ และอุตสาหกรรมเชื่อมโครงสร้างเปลี่ยนมาใช้ FCAW กันหมดแล้ว

การเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์ไม่ใช้แก็สปกคลุมจะเป็นกระบวนการเชื่อมที่เหมาะสำหรับงานภาคสนามซึ่งการขนส่งแก็สคลุมทำได้ลำบาก 

การเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์ไม่ใช้แก็สปกคลุม เป็นการใช้เครื่องเชื่อมและอุปกรณ์การเชื่อมแบบเดียวกันกับกระบวนการเชื่อม มิก แม็ก แตกต่างกันตรงที่ใช้ลวดเชื่อมเป็นลวดเชื่อมไส้ฟลั๊กซ์ และไม่ใช้แก็สปกคลุม กรณีที่เป็นลวดม้วน น่าจะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 114 ด้วยเหมือนกัน

อย่างไรก็ตามกระบวนการเชื่อมที่เป็นหลักในกลุ่มนี้ที่ได้รับความนิยมใช้งานมากที่สุด คือกระบวนการเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ (Manual metal-arc welding) 111

 

ผศ.ดร.ปริยสุทธิ์ วัฒนธรรม

ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 

วิทยาทานในครั้งนี้ข้าพเจ้าขออุทิศผลบุญให้คุณพ่อประสงค์ คุณแม่รัตนาพร วัฒนธรรม และคณาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ข้าพเจ้าจนสามารถต่อยอดองค์ความรู้เกิดประโยชน์เป็นวงกว้างผ่านสื่อโซเชียลเทอญ....

 

#บทความน่ารู้ลองเวล

Visitors: 324,182