การจำแนกกระบวนการเชื่อม

การจำแนกประเภทกระบวนการเชื่อมโดยพิจารณาการหลอมละลายของวัสดุงาน
ทีนี้ก็มาถึงไฮไลต์เรื่องการจำแนกกระบวนการเชื่อม ซึ่งเป็นเรื่องหลักที่จะพูดถึง เพราะการศึกษากระบวนการเชื่อมนั้นนอกจากจะต้องรู้ว่ากระบวนการเชื่อมแบบใดจะใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมใด ยังต้องรู้การประยุกต์ใช้กระบวนการเชื่อมว่าจะเลือกเป็นการเชื่อมในแบบใด (Manual Semi Mechanized Auto)
หรือแม้แต่ประเภทของการเชื่อมตามลักษณะงานตามที่ได้เคยเล่าให้ฟังในช่วงแรก ว่าแบ่งตามงาน Fabrication Production และ Maintenance
ต้องเอามา Integrate หรือที่เรียกว่า บูรณาการ ในการเลือกใช้กระบวนการเชื่อมให้เหมาะสมกับงาน
การจำแนกประเภทของกระบวนการเชื่อม
แนวคิดในการจำแนกประเภทของกระบวนการเชื่อมสามารถทำได้หลายวิธี และเป็นเรื่องสำคัญเบื้องต้นที่ผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเชื่อมต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากกระบวนการเชื่อมนั้นสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยได้มากถึง 114 กระบวนการ (ตามสมาคมการเชื่อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา AWS) และหากพิจารณาตามมาตรฐาน ISO พบว่าสามารถแบ่งย่อยได้ 111 กระบวนการ ซึ่งในขั้นต้นนี้ ผู้ศึกษาต้องสามารถจำแนกกระบวนการเชื่อมได้อย่างถูกต้อง จึงจะสามารถทำความเข้าใจกระบวนการเชื่อมได้อย่างเป็นระบบ การจำแนกกระบวนการเชื่อมสามารถจำแนกได้ 6 วิธีการดังต่อไปนี้
ท่านใดนับได้ไม่ตรงกับผมแจ้งได้นะครับ
ส่วนวิธีการนั้นบางตำราก็ได้ 4 บางตำราก็ได้ 5 ของผมดันได้ 6 เข้าท่าไม่เข้าท่าลองพิจารณากันดูครับ
วิธีที่ 1 การจำแนกประเภทกระบวนการเชื่อมโดยพิจารณาการหลอมละลายของวัสดุงาน
เอารูปการหลอมละลายมาให้ดูเรียกน้ำย่อยก่อน
การเชื่อมมีทั้งแบบหลอมละลาย (Fusion Welding) และแบบอื่นๆ เช่น Pressure Welding, Solid State Welding
การเชื่อมแบบหลอมละลาย (Fusion Welding) เป็นการเชื่อมโดยใช้ความร้อนจากแหล่งพลังงานภายนอกทำให้วัสดุงานหลอมละลายประสานเข้าด้วยกัน อาจมีการเติมลวดเชื่อมหรือไม่เติมก็ได้ และสามารถแบ่งกลุ่มย่อยได้ 3 กลุ่มคือ การเชื่อมแบบไม่เติมลวดเชื่อม (Autogenous Welding) การเชื่อมด้วยวัสดุเติมและวัสดุงานชนิดเดียวกัน (Homogenous Welding) และการเชื่อมด้วยวัสดุเติมและวัสดุงานต่างชนิดกัน (Heterogenous Welding)
เห็นมั้ยครับ แค่การเชื่อมแบบหลอมละลายยังสามารถแบ่งได้อีก 3 กลุ่มย่อย เรียกง่ายๆ Auto Homo Hetero
อีกกลุ่มนึงที่แยกได้ชัดเจนจากการเชื่อมแบบหลอมละลาย (Fusion Welding) คือการเชื่อมในสภาวะของแข็ง (Solid State Welding)
https://www.google.com/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwjCi6ns4ZHlAhVMs48KHaepAPgQMwg7KAQwBA&url=https%3A%2F%2Fwww.youtube.com%2Fwatch%3Fv%3D-aEuAK8bsQg&psig=AOvVaw1VE6d2WU1bZxaQOh6qx_VJ&ust=1570799385931240&ictx=3&uact=3
อันสุดท้ายนี่เป็น diffusion welding หรือการเชื่อมแบบแพร่
การเชื่อมในสภาวะของแข็ง (Solid State Welding) เป็นการเชื่อมโดยใช้แรงจากภายนอกโดยไม่มีการให้ความร้อนแก่ชิ้นงาน ความร้อนจะเกิดขึ้นภายในชิ้นงานในระดับที่ต่ำกว่าอุณหภูมิหลอมละลายของวัสดุนั้นๆ โดยไม่มีการใช้วัสดุเติม (Autogenous Welding) เช่นการเชื่อมด้วยแรงเสียดทาน (Friction Welding) รวมถึงกระบวนการเชื่อมด้วยความต้านทาน (Resistance Welding) และกระบวนการเชื่อมด้วยการแพร่ (Diffusion Welding) จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
จบไปแล้วครับสำหรับการจำแนกในแบบแรก
ที่แบ่งตามการหลอมละลายของวัสดุงาน

ผศ.ดร.ปริยสุทธิ์ วัฒนธรรม
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วิทยาทานในครั้งนี้ข้าพเจ้าขออุทิศผลบุญให้คุณพ่อประสงค์ คุณแม่รัตนาพร วัฒนธรรม และคณาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ข้าพเจ้าจนสามารถต่อยอดองค์ความรู้เกิดประโยชน์เป็นวงกว้างผ่านสื่อโซเชียลเทอญ....

#บทความน่ารู้ลองเวล

Visitors: 324,366