การอบลวดเชื่อม

การอบลวดเชื่อม (Electrode Drying) เรื่องพื้นฐานที่วิศวกรการเชื่อมต้องรู้
อบอย่างไร
ทำไมต้องอบ
ไม่อบแล้วผลเป็นอย่างไร
ลวดเชื่อมแบบไหนที่ต้องอบ
ก่อนอื่นต้องรู้จักอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการอบ และการอุ่น ลวดเชื่อม 2 อันนี้ไม่เหมือนกัน การอบ ก็ต้องใช้ ตู้อบลวดเชื่อม ส่วนการอุ่น ก็จะใช้กระบอกอุ่นลวดเชื่อม
มีตั้งแต่ขนาด 50 กิโลกรัมไปจนถึง 200 กิโลกรัม ราคาก็เอาเรื่องอยู่เหมือนกัน ถ้าขนาดใหญ่ก็ประมาณ 70,000 บาท
ส่วนอันนี้เป็นกระบอกอุ่นลวดเชื่อม อุ่นได้ครั้งละ 5 กิโลกรัม เหล็กที่เป็นแท่ง สีดำ เอาไว้ดึงลวดเชื่อมออก ปกติเราจะเห็น วางตั้งตรง แต่กรณีนี้ ผู้ผลิต เจตนาจะแสดงให้เห็น วิธีการใช้งานในแบบนอน
ที่นี้ก็ต้องมารู้กันก่อนว่า ลวดเชื่อมประเภทไหนบ้าง ที่ต้องอบ หลักๆเลย ก็จะเป็นลวดเชื่อมประเภท low ไฮโดรเจน หรือลวดเชื่อม Basic electrode อันนี้จำเป็นต้องอบ เพราะถ้าไม่อบ รอยเชื่อม อาจมีอันเป็นไป เนื่องจาก hydrogen cracking แต่ถ้าเป็น ลวดเชื่อมในกลุ่ม rutile และกลุ่มเซลลูโลส ไม่จำเป็นต้องอบ
อันนี้แนะนำให้ดู จากสเปคของลวดเชื่อมได้เลย โดยไปดูที่ มาตรฐาน aws A5 หรือ Code Standard ที่ใช้งาน หรือ มาตรฐาน ของผู้ผลิตลวดเชื่อม
แต่ถ้าเป็น ลวดเชื่อมไฮโดรเจนต่ำ จะแนะนำให้อบ ที่อุณหภูมิ 260 ถึง 425 องศาเซลเซียสที่ระยะเวลา 1-2 ชั่วโมง และให้อุ่น ที่อุณหภูมิ 30 ถึง 140 องศาเซลเซียส เหนือกว่าอุณหภูมิปฏิบัติงาน
ทำไมลวดเชื่อมไฮโดรเจนต่ำ จึงต้องมีการอบลวดเชื่อมก่อนใช้งาน
คำตอบก็คือ งานที่ ต้องการความแข็งแรงสูง หรือที่เรียกว่า งานวิศวกรรม ไม่ว่าจะเป็น งานโครงสร้าง ถังแรงดันท่อแก๊สท่อน้ำมัน ที่ต้องรับแรงดัน และมีการประกันคุณภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง พวกนี้ต้องอบ เนื่องจาก การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการแตกร้าว จากไฮโดรเจน หรือที่เรียกว่า H2 crackling
ในขณะที่ ลวดเชื่อม รูไทล์ เช่น E6013 พวกนี้จะใช้กับงานประเภท sheet Metal Application หรืองานบาง ซึ่งไม่ได้ต้องการความแข็งแรงของรอยเชื่อมมากนัก จึงไม่มีความจำเป็นต้องอบหรืออุ่นลวดเชื่อม ก่อนใช้งาน
ลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ประเภท Basic หรือไฮโดรเจนต่ำ จะมีความเหนียว (Toughness) ที่สูงกว่าลวดเชื่อม กลุ่มอื่นๆ ความเหนียวนี้ เป็นความเหนียวจากการรับแรงกระแทก หรือ Impact Test ซึ่งจะแตกต่างจากความเหนียว ที่เป็น ductility จากการทดสอบแรงดึง Tensile Test
Cr. ผศ.ดร.ปริยสุทธิ์ วัฒนธรรม
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
วิทยาทานในครั้งนี้ข้าพเจ้าขออุทิศผลบุญให้คุณพ่อประสงค์ คุณแม่รัตนาพร วัฒนธรรม และคณาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ข้าพเจ้าจนสามารถต่อยอดองค์ความรู้เกิดประโยชน์เป็นวงกว้างผ่านสื่อโซเชียลเทอญ....

Visitors: 324,224