การจำแนกกระบวนการเชื่อมตามการใช้งานวัสดุเติม

วิธีที่ 2 การจำแนกกระบวนการเชื่อมตามการใช้งานวัสดุเติม
อันนี้จะแตกกลุ่มที่ 1 มาอีกที โดยการพิจารณาจากกลุ่มของการเชื่อมแบบหลอมละลาย แต่ให้ดูที่วัสดุเติมเป็นหลัก
การเชื่อมแบบไม่เติมลวดเชื่อม (Autogenous Welding) ในกระบวนการเชื่อมแบบหลอมละลาย (Fusion Welding) อาจพิจารณาเลือกวิธีการเติมหรือไม่เติมลวดเชื่อมก็ได้ หากเป็นการเชื่อมที่ให้วัสดุงานหลอมละลายเข้าด้วยกันโดยไม่มีการเติมลวดเชื่อม จะเรียกว่าเป็นการเชื่อมแบบไม่เติมลวดเชื่อม (Autogenous Welding) ซึ่งหากพิจารณาถึงการเชื่อมในสภาวะของแข็ง (Solid State Welding) จะสามารถถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้ด้วยเช่นกัน
พวกการเชื่อมทิก พลาสม่า โดยไม่เติมลวดเชื่อมจะอยู่ในกลุ่มนี้
โดยส่วนมากจะเป็นงานบาง ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนัก รอยเชื่อมที่เชื่อมโดยไม่เติมลวดเชื่อมเมื่อนำไปทดสอบแรงดึงมักจะขาดที่รอยเชื่อม
การเชื่อมด้วยวัสดุเติมและวัสดุงานต่างชนิดกัน (Heterogenous Welding) ในกรณีที่การเชื่อมแบบหลอมละลายนั้น มีการใช้วัสดุเติมที่ต่างชนิดกันกับวัสดุงาน จะเรียกว่าการเชื่อมนั้นเป็นการเชื่อมด้วยวัสดุเติมและวัสดุงานต่างชนิดกัน (Heterogenous Welding) ต้องพิจารณาการหลอมละลายเข้ากันได้ระหว่างวัสดุเติมและวัสดุงานเป็นสำคัญ หากไม่สามารถหลอมละลายเข้ากันได้ รอยเชื่อมจะมีความบกพร่องไม่สามารถใช้งานได้
บางครั้งจะเรียกว่า Dissimilar Joining
ซึ่งความเป็น Dissimilar นั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะที่วัสดุงานคนละชนิดกัน ยังครอบคลุมไปถึงวัสดุเติม (filler metal)ที่อาจเป็นคนละกลุ่มกับวัสดุงานก็ได้
ตำราทางยุโรปจะเรียกว่า Black&White welding
เทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้ในการเชื่อมโลหะต่างชนิดกันคือการทำ Buttering หรือบางทีก็เรียกว่า Buffer Layer
ต้องบอกก่อนว่าอย่าไปสับสนกับคำว่า Clading
การทำ Clading เป็นวิธีการเชื่อมพอกผิวที่ต้องการวัตถุประสงค์ในการใช้งานเฉพาะ เช่น เชื่อมพอกผิดด้วยลวดเชื่อมสแตนเลส ลงบนเหล็กกล้าคาร์บอน เพื่อความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อน
สามารถเลือกใช้กระบวนการเชื่อมได้หลากหลายวิธี ตามความเหมาะสม
ย้ำนะครับว่าตามความเหมาะสม
ความเหมาะสมที่ต้องพิจารณา เช่น ขนาดของพื้นที่ การละลายเจือ (%dilution) ปริมาณคววามร้อนสะสม (Heat Input) อัตราการเติม (Deposition Rate)
เอาอีกนิดละกัน Buttering # Cladding # Hard Facing # Built Up
สี่คำนี้ มีความเหมือนในความต่าง
ต้องแยกให้ได้ครับ

ผศ.ดร.ปริยสุทธิ์ วัฒนธรรม
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วิทยาทานในครั้งนี้ข้าพเจ้าขออุทิศผลบุญให้คุณพ่อประสงค์ คุณแม่รัตนาพร วัฒนธรรม และคณาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ข้าพเจ้าจนสามารถต่อยอดองค์ความรู้เกิดประโยชน์เป็นวงกว้างผ่านสื่อโซเชียลเทอญ....

#บทความน่ารู้ลองเวล

Visitors: 324,173